FAQ
ห้องเรียนแห่งอนาคต หรือ J-Sharp Future Classroom คืออะไร
Q: J-Sharp Future Classroom หรือห้องเรียนแห่งอนาคตคืออะไร
A: ห้องเรียนแห่งอนาคตเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนค้นหาศักยภาพในตัวเอง เพื่อเรียนในสิ่งที่ตนเองถนัดและตรงกับบุคลิกภาพ และมีทักษะที่สำคัญต่ออนาคต ในศตวรรษที่ 21 (21st century skills) การเรียนการสอนในห้องเรียนแห่งอนาคตใช้วิธีการเรียนแบบ Creativity-based Learning (การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน)
หลักสูตรของห้องเรียนแห่งอนาคต มีอะไรบ้าง
Q: หลักสูตรของห้องเรียนแห่งอนาคต มีอะไรบ้าง
A: หลักสูตรของ J-sharp มี 2 หลักสูตรได้แก่
หลักสูตร Compass คือ หลักสูตรที่จะช่วยค้นหาศักยภาพของผู้เรียนว่าเหมาะที่จะเรียนด้านไหนหรือประกอบอาชีพลักษณะใด โดยวิเคราะห์จาก บุคลิกภาพ 6 ด้านของแต่ละบุคคล ตามทฤษฎี ของ จอห์น แอล ฮอลแลนด์ (John L. Holland) ซึ่งจะทำให้รู้ถึง
จุดเด่นจุดด้อยในด้านต่าง ๆ คือ Realistic, Investigative, Artistic, Social, Enterprising และ Conventional
ซึ่งการวัดผลได้มาจาก
1 การทำแบบทดสอบ “ค้นหาตนเอง ”
2 การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียน ใน workshop 10 ชั่วโมง
กิจกรรมและการบันทึกทั้งหมดจะประมวลผลโดยโปรแกรมวิเคราะห์ศักยภาพ (jAA) ซึ่งเป็นระบบบันทึก ตรวจสอบ และประเมินผลจากผลงานของผู้เรียน ที่วิจัยพัฒนาและทดลองใช้กับนักเรียนทั่วประเทศมากว่า 15 ปี ผลที่ได้จึงแม่นยำกว่าการตอบแบบสอบถามเพื่อวัดบุคลิกภาพที่ใช้กันทั่วไป
2. หลักสูตรพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ซึ่งได้แก่
- Thinking Skillsทักษะด้านการคิดซึ่งประกอบด้วย
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ Critical thinking
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์ Creative thinking
- Communication Skill ทักษะการสื่อสาร
- Learning Skill ทักษะการเรียนรู้
- Teamwork & Collaboration Skills ทักษะการทำงานเป็นทีม
หลักสูตร Compass รับนักเรียนตั้งแต่อายุเท่าไหร่
Q: หลักสูตร Compass รับนักเรียนตั้งแต่อายุเท่าไหร่
A: หลักสูตร Compass แบ่งจะตามระดับอายุของผู้เรียน 2 ระดับ
1. Primary Compass สำหรับอายุ 7 -12 ปี
2. Junior Compass สำหรับอายุ 13 ปีขึ้นไป
หลักสูตร Compass เรียนทั้งหมดกี่ชั่วโมง และเรียนกี่ชั่วโมง / สัปดาห์
Q: หลักสูตร Compass เรียนทั้งหมดกี่ชั่วโมง และเรียนกี่ชั่วโมง / สัปดาห์
A: หลักสูตร Compass เรียนทั้งหมด 10 ชั่วโมง ใช้เวลา 2 วัน โดยจะมีช่วงวันให้เลือกดังนี้
1. ช่วงเปิดเทอม สามารถเลือกเรียนได้ วันเสาร์ - วันอาทิตย์
2. ช่วงปิดเทอม เดือนตุลาคม และ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม สามารถเลือกเรียนได้ทั้งวันธรรมดา และ วันเสาร์ - อาทิตย์
สอบถามตารางเรียนได้ที่
โทร. 02-9371118 – 9
หลักสูตรพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) รับนักเรียนตั้งแต่อายุเท่าไหร่
Q: หลักสูตรพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) รับนักเรียนตั้งแต่อายุเท่าไหร่
A: หลักสูตรพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) เหมาะสำหรับนักเรียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในระบบการเรียนทั่วไป หรือ เป็นนักเรียนที่เรียนแบบ Home School (จัดการศึกษาโดยครอบครัว)
โดยสามารถสอบถามตารางการเรียนได้ที่ โทร. 02-9371118 – 9
อาชีพที่แนะนำในผลการวิเคราะห์ของหลักสูตร Compass จะรับรองได้หรือไม่ว่า เรียนแล้วมีงานทำ
Q: อาชีพที่แนะนำในผลการวิเคราะห์ของหลักสูตร Compass จะรับรองได้หรือไม่ว่า เรียนแล้วมีงานทำ
A: อาชีพที่แนะนำในผลวิเคราะห์ เป็นตัวอย่างลักษณะอาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้เรียน ต้องนำมาพิจารณาร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ เช่น ความต้องการของตลาดแรงงาน กับความรู้เฉพาะด้านที่นักเรียนมีอยู่ หรือทักษะที่สำคัญมีเพียงพอแล้วหรือไม่ เช่น ผลการวิเคราะห์ได้แนะนำอาชีพ นักจัดงานกิจกรรม (Event) โดยขณะนี้ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นผู้มีความถนัดในการจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งนักเรียนเองจะต้องเพิ่มเติมทักษะอย่างต่อเนื่อง และหาความรู้เฉพาะด้านของอาชีพด้านนี้ เช่น การสมัครเข้าฝึกงานในบริษัทออกาไนเซอร์ กล่าวได้ว่า เมื่อนักเรียนต้องถูกเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดแรงงาน ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่นักเรียนจะมีข้อได้เปรียบทางด้านความถนัดเป็นทุนเดิม และจะสามารถเข้าสู่อาชีพได้หากมีการเตรียมพร้อมที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
คุณครูในห้องเรียน (TA) ที่ทำหน้าที่สอนในหลักสูตร Compass จะใช้หลักเกณฑ์ในการประเมินอย่างไร และแม่นยำมากน้อยแค่ไหน
Q: คุณครูในห้องเรียน (TA) ที่ทำหน้าที่สอนในหลักสูตร Compass จะใช้หลักเกณฑ์ในการประเมินอย่างไร และแม่นยำมากน้อยแค่ไหน
A: ในการเรียนการสอนของหลักสูตร Compass คุณครูในห้องเรียน บุคลากรอำนวยการเรียนรู้ - TA (Teacher Assistant) จะมีทั้งหมด 2 ท่านซึ่งจะทำหน้าที่ คือ ท่านแรกจะเป็นผู้อำนวยการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองในห้องเรียน โดยใช้ระบบการเรียนแบบ Creativity-based Learning (CBL) จะการเรียนแบบ CBL นี้ ทำช่วยให้ผู้เรียนแสดงศักยภาพที่แท้จริงออกมา ส่วน TA ท่านที่ 2 จะเป็นผู้สังเกตุและบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียน หลังจากนั้น จะประมวลผลโดยโปรแกรมวิเคราะห์ศักยภาพ (jAA) ทำให้ผลการวิเคราะห์ที่ออกมาแม่นยำกว่าการทำแบบสอบถามทั่วไป
รูปแบบการเรียนของห้องเรียนแห่งอนาคตเป็นอย่างไร
Q: รูปแบบการเรียนของห้องเรียนแห่งอนาคตเป็นอย่างไร
A: ที่ห้องเรียนแห่งอนาคตผู้เรียนจะได้เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ การค้นคว้า การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และการนำเสนอผลงานในห้องเรียนที่มีผู้เรียนไม่เกิน 20 คน ด้วยโปรแกรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์โน้ตบุคของผู้เรียนทุกคนเข้ากับจอมัลติมีเดียจะช่วยให้การเรียนรู้สนุกสนาน
ด้วยมัลติมีเดียจะกระตุ้นการเรียนรู้ เกมส์ การแข่งขัน การทำโครงงาน จะช่วยฝึกทักษะในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมและการบริหารเวลา
ใครเป็นผู้สอน
Q: ใครเป็นผู้สอน
A: ในห้องเรียนแห่งอนาคต ผู้กระตุ้นการเรียนรู้มาจากมัลติมีเดีย และผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) 2 คนต่อห้องจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะในการค้นคว้า คิด และนำเสนอ
ผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) ในห้องเรียนแห่งอนาคต จะสอนหรือไม่
Q: ผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) ในห้องเรียนแห่งอนาคต จะสอนหรือไม่
A: โดยปกติ ผู้อำนวยการเรียนรู้จะไม่สอน แต่ในกรณีที่มีการถาม นั่นคือโอกาสพิเศษ เป็นนาทีทองของการเรียนรู้ เพราะผู้เรียนสนใจอยากรู้ ผู้อำนวยการเรียนรู้จะสอนเป็นรายบุคคลตามความสนใจ
ห้องเรียนแห่งอนาคตจะพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร
Q: ห้องเรียนแห่งอนาคตจะพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร
A: ที่ห้องเรียนแห่งอนาคตใช้ระบบการเรียนการสอน ในรูปแบบ Creativity-based learning ซึ่งทำการวิจัยและพัฒนาโดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ซึ่งเป็นห้องเรียนที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ เหล่านี้ได้